การเลือกเครื่องมือวัด

การเลือกตามการประยุกต์ใช้งาน

การวัดความยาว

โดยทั่วไปแล้ว ที่โรงงานผลิตมักจะใช้ไม้บรรทัด ตลับเมตร และเกจบล็อคในการวัดความยาว มีการใช้สเกลขนาดยาวสำหรับชิ้นงานที่มีความยาวไม่กี่เมตร หากต้องการวัดให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้นก็จะใช้เครื่องมือวัด เช่น เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไดอัลเกจ และไมโครมิเตอร์

การวัดมุม

ไม้วัดมุมแบบครึ่งวงกลมจะมีประโยชน์มากในการวัดหน่วยเป็นองศา ไม้วัดมุมแบบเอียงและโปรไฟล์โปรเจคเตอร์จะใช้ในการวัดหน่วยเป็นลิปดา เครื่องมือวัดที่เรียกว่าซายน์บาร์ (Sine bar) สามารถวัดได้แม่นยำยิ่งขึ้นในหน่วยฟิลิปดา สามารถวัดหน่วยฟิลิปดาด้วยเกจวัดมุมหรือ Autocollimator
Square และ Squareness Tester ของวิศวกรเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความตั้งฉาก

การวัดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ

เวอร์เนียคาลิปเปอร์จะใช้เพื่อวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของรูในวัตถุ นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องมือวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในโดยเฉพาะอีกด้วย
ไมโครมิเตอร์วัดท่อ เกจวัดกระบอกสูบ เครื่องมือวัดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็ก และเกจปลั๊กเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดชิ้นงานรูปแหวนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ไมโครมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และไมโครมิเตอร์แบบอากาศใช้สำหรับการวัดที่แม่นยำยิ่งขึ้น
เครื่องมือวัด เช่น โปรไฟล์โปรเจคเตอร์ ไมโครสโคปอุตสาหกรรม และเครื่องมือวัดขนาดด้วยการประมวลผลภาพจะมีประโยชน์เมื่อต้องการการวัดแบบออปติคอลที่แม่นยำ

การวัดพิกัด

การวัดพิกัด

ใช้เวอร์เนียคาลิปเปอร์ชนิดนอกจุดศูนย์กลาง เกจวัดระยะ Pitch ของรู เกจวัดความสูง และพินเกจในการวัดพิกัด เช่น ตำแหน่งของรูในชิ้นงาน
เครื่องมือวัด เช่น โปรไฟล์โปรเจคเตอร์ ไมโครสโคปอุตสาหกรรม เครื่องมือวัด 2D/3D และเครื่องมือวัดขนาดด้วยการประมวลผลภาพจะมีประโยชน์เมื่อต้องการการวัดแบบออปติคอลที่แม่นยำ อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์แบบออปติคอลมาตรฐานจะใช้สำหรับการวัดที่ต้องการความแม่นยำสูงพิเศษ เช่น การวัดเซมิคอนดักเตอร์

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือวัดพิกัด(CMM)ชนิดโพรบมือถือที่ตอบสนองความต้องการด้านการวัดทุกรูปแบบ

ดัชนี