สภาพแวดล้อมในการวัด

การประเมินการวัด

การประเมินค่าที่วัดได้ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากค่าที่วัดได้ไม่มีทางเป็นค่าจริง เพราะจะมีค่าที่ผิดพลาดรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนหนึ่งเสมอ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะประเมินความน่าเชื่อถือจากการวัดเพียงครั้งเดียว โดยทั่วไปจะประเมินความน่าเชื่อถือจากความโน้มเอียงของค่าที่วัดได้ (ข้อผิดพลาดของระบบ) และความแปรผัน (ข้อผิดพลาดแบบสุ่ม) เมื่อใช้ค่าจริงเป็นค่าอ้างอิง
อย่างไรก็ตาม การประเมินค่าที่วัดได้ก็ยังไม่มีความสม่ำเสมอ จึงทำให้กำหนดค่าจริงได้ยาก ด้วยเหตุนี้ จึงมีการคิดค้นวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของผลการวัดจากมุมมองทางสถิติขึ้น ซึ่งคือแนวคิดของ “ความไม่แน่นอน” ช่วงที่มีค่าจริงอยู่จะคำนวณโดยใช้กระบวนการทางสถิติเพื่อประเมินข้อผิดพลาด
ตัวอย่างเช่น การวัดความยาวของแท่งโลหะที่ผ่านกระบวนการแปรรูปสามารถแสดงได้เป็นความยาว 200 มม. มีความไม่แน่นอน ±0.01 มม. และระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งแสดงว่าค่าจริงจะอยู่ที่ระหว่าง 199.99 ถึง 200.01 มม. โดยมีระดับความเชื่อมั่น 95%
โดยมาตรฐานสากล เช่น องค์กรระหว่างประเทศด้านการกำหนดมาตรฐาน (ISO) ต่างก็นำแนวทางนี้มาใช้

ค่าจริงจะอยู่ที่อยู่ระหว่าง 199.99 ถึง 200501 มม . โดยมีระดับความเชื่อมั่น 95%
  • ความไม่แน่นอน: ±0.01 มม.
  • ระดับความเชื่อมั่น: 95%
ค่าจริงจะอยู่ที่ระหว่าง
199.99 และ 200.01 มม . โดยมีระดับความเชื่อมั่น 95%

ดัชนี