การเลือกเครื่องมือวัด

การเลือกตามชิ้นงานที่จะวัด

การเลือกเครื่องมือวัดที่เหมาะกับความต้องการของชิ้นงานที่จะวัด
  • ความโปร่งใส
  • รูปร่าง
  • ขนาด
  • วัสดุ
การเลือกเครื่องมือวัดที่เหมาะกับความต้องการของชิ้นงานที่จะวัด

รูปร่างเรียบง่ายหรือซับซ้อน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยิ่งรูปร่างของชิ้นงานมีความเรียบง่ายเพียงใด ก็จะยิ่งวัดขนาดได้ง่ายขึ้นเท่านั้น เช่น สี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือวงกลม นอกจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลายในการวัดชิ้นงานเหล่านี้ได้ เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร เวอร์เนียคาลิปเปอร์ และไมโครมิเตอร์ เครื่องมือวัดเหล่านี้สามารถใช้ร่วมกับเกจวัดความสูงหรือไดอัลเกจในการวัดความสูงได้
ในขณะที่การวัดขนาดของชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อน เช่น รูปหลายเหลี่ยมหรือรูปดาว จะทำได้ยากกว่า อีกทั้งเครื่องมือวัดที่สามารถใช้วัดรูปร่างเช่นนี้ได้ก็ยังมีจำกัด โปรไฟล์โปรเจคเตอร์และเครื่องมือวัดขนาดด้วยการประมวลผลภาพ คือเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดในการวัดขนาดของรูปร่างที่ซับซ้อนเป็นพิเศษ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่มีฟังก์ชันวัดรายละเอียด เช่น ขนาดและมุมของรูปร่างที่ซับซ้อนได้ เพียงวางชิ้นงานไว้บนแท่นวางเท่านั้น

วัสดุเป็นแบบแข็งหรือนุ่ม

เมื่อบีบชิ้นงานที่แข็งมาก เช่น โลหะหรือเซรามิค ด้วยส่วนประกอบที่ใช้วัดของคาลิปเปอร์หรือไมโครมิเตอร์ อัตราการเปลี่ยนรูปของชิ้นงานจะต่ำ จึงทำการวัดได้ง่ายดายโดยไม่ว่าจะใช้เครื่องมือใดในการวัด
แต่เมื่อบีบวัตถุที่อ่อนนุ่ม เช่น ชิ้นงานที่ทำจากเรซินสังเคราะห์ด้วยส่วนประกอบของเครื่องมือวัดเช่นเดิม ชิ้นงานจะเปลี่ยนรูป ซึ่งทำให้วัดได้ยาก ในสถานการณ์เช่นนี้ เครื่องมือวัดชนิดไม่สัมผัสจึงมีประโยชน์มาก ตัวอย่างเช่น เครื่องมือวัดภาพที่ใช้แสงเลเซอร์หรือแหล่งกำเนิดแสงที่คล้ายกันในการวัดขนาดโดยไม่สัมผัส

การเลือกตามขนาด

ไมโครสโคปสำหรับวัดมีประสิทธิภาพในการวัดชิ้นส่วนที่เล็กเป็นพิเศษ ซึ่งมีขนาดในระดับไมโครเมตรหรือเล็กกว่า หลักการทำงานของไมโครสโคปสำหรับการวัดนั้นจะเหมือนกับไมโครสโคปแบบทั่วไป และสามารถทำการวัดได้โดยไม่สัมผัส จึงไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ชิ้นงานเสียหาย
แต่จะมีการใช้สเกลที่ยาวเพื่อวัดชิ้นงานขนาดใหญ่เพียงไม่กี่เมตรได้ เช่น รถยนต์ เครื่องมือวัดพิกัด(CMM) CNC ขนาดใหญ่จะมีประโยชน์มากในการวัดที่ต้องการความแม่นยำ

การเลือกตามความโปร่งใส

เครื่องมือวัดหลากหลายชนิดสามารถใช้ในการวัดชิ้นงานทึบแสงได้ แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนบางอย่างสำหรับชิ้นงานที่จะวัดซึ่งมีอัตราการส่งผ่านสูง เช่น การวัดความหนาของฟิล์มใส ไมโครมิเตอร์และเครื่องมือวัดชนิดสัมผัสแบบอื่นๆ สามารถวัดชิ้นงานที่โปร่งใสได้ แต่เครื่องมือเหล่านี้ไม่เหมาะที่จะวัดวัตถุที่มีความยืดหยุ่น เช่น ฟิล์ม ในทางกลับกัน เลเซอร์ดิสเพลสเมนต์มิเตอร์และเครื่องมือวัดอื่นๆ ที่ใช้ลำแสงเลเซอร์จะสามารถวัดได้อย่างแม่นยำโดยไม่ต้องสัมผัสชิ้นงาน

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับการรองรับวัสดุของชิ้นงานได้อย่างหลากหลายของเครื่องมือวัดขนาดด้วยการประมวลผลภาพ

ดัชนี