การวัดความตั้งฉาก

การวัดความตั้งฉากคือการตรวจสอบว่าชิ้นงานมีความตั้งฉากที่สมบูรณ์มากเพียงใดเมื่อเทียบกับ Datum (ระนาบหรือเส้นอ้างอิง)

แบบร่างตัวอย่าง

การวัดความตั้งฉาก

การใช้ไม้บรรทัดฉากและฟิลเลอร์เกจ

การใช้ไม้บรรทัดฉากและฟิลเลอร์เกจ
a
วัดช่องว่างนี้ด้วยฟิลเลอร์เกจ
b
ชิ้นงาน
c
ไม้บรรทัดฉาก
d
แผ่นพื้นผิวเรียบ

ทาบไม้บรรทัดฉากกับชิ้นงาน วัดช่องว่างระหว่างไม้บรรทัดฉากและชิ้นงานด้วยฟิลเลอร์เกจหรือพินเกจ
ช่องว่างนี้จะแสดงถึงความตั้งฉาก

ข้อเสีย

เนื่องจากเครื่องมือวัดที่ใช้เป็นแบบเรียบง่าย จึงมีความแม่นยำไม่มาก เมื่อพื้นผิวที่จะวัดไม่ตั้งฉากกับพื้นผิวของแผ่นพื้นผิวเรียบ วิธีนี้จึงใช้ไม่ได้
ทำให้ต้องบันทึกข้อมูลการวัดด้วยลายมือหรือบันทึกด้วยตนเอง

การใช้เครื่องมือวัดพิกัด (CMM)

การใช้เครื่องมือวัดพิกัด
a
ชิ้นงาน
b
แผ่นพื้นผิวเรียบ

กำหนด Datum ด้วยการวางสไตลัสลงบนหลายจุดของระนาบ Datum (แผ่นพื้นผิวเรียบ) และวัดความตั้งฉากด้วยการวางสไตลัสบนระนาบการวัด (ชิ้นงาน)
ซึ่งจะช่วยให้วัดได้แม่นยำถึงแม้ว่าพื้นผิวของชิ้นงานที่วัดจะไม่ตั้งฉากกับแผ่นพื้นผิวเรียบ
อีกทั้งยังสามารถวัดความตั้งฉากของแกนของทรงกระบอก ท่อ และกรวยทรงกลมได้

หน้าจอแสดงผลการวัด
หน้าจอแสดงผลการวัด
a
องค์ประกอบอ้างอิง (ระนาบ)
b
องค์ประกอบของชิ้นงาน (ทรงกระบอก)
c
ผลการวัดความตั้งฉาก

ดัชนี