การวัดความตรง

การวัดความตรงคือการตรวจสอบว่าชิ้นงานมีความตรงมากเพียงใด
การระบุนี้จะใช้กับเส้นตรง และไม่ใช้กับระนาบ ด้วยเหตุนี้ การวัดความตรงจึงสามารถระบุความโก่งงอของวัตถุที่ยาวได้

แบบร่างตัวอย่าง

การวัดความตรง

การใช้เกจวัดความสูง

การใช้เกจวัดความสูง
a
หัวเสียบขนาดไมโคร
b
△H = ความตรง
c
กราฟความสูง (Hn)

ยึดชิ้นงานให้มั่นคงเพื่อให้ความสูงเท่ากันทั้งด้านซ้ายและขวา ใช้หัวเสียบขนาดเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นงานเอียง เลื่อนชิ้นงานหรือเกจวัดความสูงไปตรงๆ เพื่อวัดความตรง
ความแตกต่างระหว่างค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด (△H) คือความตรง

ข้อเสีย

โดยทั่วไปแล้วเกจวัดความสูงจะมีความแม่นยำน้อยกว่าเครื่องมือวัดพิกัด นอกจากนี้ แรงจากการวางชิ้นส่วนที่ใช้ในการวัดของเกจวัดความสูงก็ยังทำให้ค่าที่วัดเกิดการเปลี่ยนแปลงได้และจะส่งผลให้ค่าการวัดไม่เสถียร
เมื่อไม่สามารถวางชิ้นงานให้ได้ระดับ เกจวัดความสูงก็จะขยับไม่ได้ ซึ่งจะทำให้วัดได้ยาก

การใช้เครื่องมือวัดพิกัด (CMM)

การใช้เครื่องมือวัดพิกัด
a
สไตลัส
b
ชิ้นงาน

เครื่องมือวัดพิกัดสามารถวัดความตรงได้โดยที่ผู้ปฏิบัติการเพียงแค่วางสไตลัสบนชิ้นงานเบาๆ เท่านั้น ด้วยคุณสมบัติที่ว่านี้ ทำให้แทบจะไม่มีข้อผิดพลาดที่เกิดจากแรงกดในการวัด ผลการวัดที่ได้จึงมีความเสถียร
นอกจากนี้ยังสามารถวางสไตลัสบนชิ้นงานได้หลายมุม ซึ่งจะช่วยให้วัดชิ้นงานที่ไม่สามารถยึดให้ได้ระดับได้อย่างแม่นยำ เช่น ชิ้นงานที่ไม่สามารถวัดด้วยเกจวัดความสูงได้

หน้าจอแสดงผลการวัด
หน้าจอแสดงผลการวัด
a
ผลการวัดความตรง

ดัชนี