การวัดความร่วมศูนย์

การวัดความร่วมศูนย์ คือการตรวจสอบความแม่นยำของความร่วมศูนย์ของแกนทรงกระบอก 2 ชิ้นที่มีจุดศูนย์กลางตรงกัน Datum จะเป็นจุดศูนย์กลาง (ระนาบ) ซึ่งแตกต่างจากความร่วมแกน

แบบร่างตัวอย่าง

แบบร่างตัวอย่าง

การใช้ไดอัลเกจ

การใช้ไดอัลเกจ
a
ตำแหน่งการวัดที่กำหนด

ยึดชิ้นงานให้อยู่กับที่และวางไดอัลเกจบนจุดยอดของเส้นรอบวงของแกนเพื่อระบุเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน หมุนชิ้นงานและวัดค่าการหนีจากจุดอ้างอิงที่สูงสุดและต่ำสุดโดยใช้ไดอัลเกจ วัดรอบเส้นรอบวงที่กำหนด โดยผลต่างของค่าสูงสุดและต่ำสุดที่มากที่สุดเป็นความร่วมศูนย์

ข้อเสีย

ปัจจัยต่างๆ เช่น มุมและความแข็งแกร่งที่ใช้วางไดอัลเกจบนชิ้นงานจะส่งผลถึงค่าที่วัดได้ ซึ่งหมายความว่าการวัดอาจแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติงาน
แรงเสียดทานระหว่างส่วนปลายของไดอัลเกจกับพื้นผิวของชิ้นงานอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนขึ้นบนพื้นผิวของชิ้นงานได้

การใช้เครื่องมือวัดพิกัด (CMM)

การใช้เครื่องมือวัดพิกัด
a
แผ่นพื้นผิวเรียบ

คุณจะต้องวัดวงกลมของระนาบ ซึ่งจะแตกต่างจากการวัดความร่วมแกน
วางสไตลัสบนจุดการวัดบนวงกลม Datum แล้ววางสไตลัสบนจุดการวัดขององค์ประกอบของวงกลมเพื่อวัดความร่วมศูนย์
สไตลัสจะสัมผัสกับพื้นผิวของชิ้นงานเพียงเล็กน้อย และจะไม่ทำให้ชิ้นงานมีรอยขีดข่วน

หน้าจอแสดงผลการวัด
หน้าจอแสดงผลการวัด
a
วงกลม Datum
b
วงกลมของชิ้นงาน
c
ผลการวัดความร่วมศูนย์

ดัชนี