• ขนาดฟอนต์
  • ปกติ
  • ใหญ่

บทที่ 3ต้นตอของปัญหาในมิเตอร์วัดการไหล
ต้นตอของปัญหาในมิเตอร์วัดการไหล ส่วนที่ 1

ความสำคัญของการเข้าใจถึงต้นตอของปัญหาและการใช้มาตรการแก้ไขที่เหมาะสม

ในส่วนนี้จะประกอบด้วยข้อสรุปถึงต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการควบคุมการไหล การควบคุมการไหลนั้นจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบการไหลอย่างสม่ำเสมอและการวัดอัตราการไหลที่แม่นยำ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับมิเตอร์วัดการไหลหรือเซนเซอร์ตรวจจับการไหลอาจทำให้คุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ลดลงและอาจทำให้เครื่องมือกลเสียหายได้ การซ่อมบำรุงและการซ่อมแซมที่ใช้เวลานานไม่เพียงจะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้สูญเสียโอกาสอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบสาเหตุที่เป็นไปได้ของปัญหาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว และใช้มาตรการแก้ไขที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมการไหลนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง

1. หินปูน

หมายถึงวัตถุที่เกิดจากไอออนโลหะที่มีอยู่ในน้ำบาดาลหรือน้ำประปาที่เกิดการตกผลึกและไปติดอยู่กับผนังท่อภายใน ซึ่งจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังเช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม ถ้ามีการสะสมเป็นชั้นหนามากเกินไปจะทำให้ท่อภายในแคบลงและไปจำกัดการไหล อาจเป็นไปได้ที่หินปูนจะไปเกาะติดกับภายในมิเตอร์และทำให้เกิดผลเสียกับการทำงาน อีกทั้งถ้ามิเตอร์เป็นแบบที่มีส่วนประกอบเชิงกลไก เศษชิ้นส่วนก็อาจแตกออกและไปสะสมกันทำให้เกิดการอุดตัน

เมื่อใช้มิเตอร์วัดการไหลแบบกังหันและแบบทุ่นลอย อาจจะอ่านหน้าจอแสดงผลไม่ได้หรืออาจมีการอุดตันที่กลไกที่เคลื่อนไหว มิเตอร์วัดการไหลแบบแม่เหล็กไฟฟ้าจะแทบไม่พบปัญหานี้ แต่ถ้ามีหินปูนที่หนาและใหญ่ติดอยู่ภายในเส้นทางการไหล มิเตอร์จะไม่สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าได้ และจำเป็นต้องทำการซ่อมแซม

2. ตะกอน

นี่เป็นชื่อเรียกทั่วไปสำหรับสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ภายในของเหลวดังเช่น สารแขวนลอยและตะกอนแขวนลอย ในสายการผลิตโดยปกติแล้วจะมีเศษและเมล็ดต่างๆออกมาจากเครื่องเจียร จะเกิดตะกอนในของเหลวอยู่เสมอ และทำให้มิเตอร์วัดการไหลอุดตันหรือเกิดสัญญาณรบกวน มิเตอร์วัดการไหลที่มีส่วนประกอบเชิงกลไกในระบบท่อ อาจเกิดการสึกกร่อนและการถลอกได้ทำให้การไหลลดลง แม้ว่าจะขจัดตะกอนได้ด้วยตัวกรอง* หรือเครื่องแยกแบบแม่เหล็ก ก็ยังทำการขจัดออกหมดได้ยาก และยังจำเป็นต้องทำการบำรุงรักษา

ด้วยมิเตอร์วัดการไหลแบบแม่เหล็กไฟฟ้าที่ท่อการไหลมีโครงสร้างการไหลแบบฟรีโฟลว์ จะไม่ทำให้เกิดการก่อตัวและการอุดตัน ตะกอนที่กระทบกับอิเล็กโทรดที่ "เปียก" จะทำให้เกิดการรบกวน อย่างไรก็ตามสามารถจำกัดผลกระทบนี้ได้ด้วยการใช้เซนเซอร์วัดการไหลแบบแม่เหล็กไฟฟ้าที่อิเล็กโทรด "ไม่เปียก" เซนเซอร์วัดการไหลที่สามารถตั้งค่าเวลาตอบสนองและความถี่การสุ่มตัวอย่างได้จะทนทานกว่า

*ตัวกรอง
ฟิลเตอร์สำหรับขจัดชิ้นส่วนแปลกปลอมขนาดใหญ่ (ตะกอน) ในของเหลว ดังที่เห็นในภาพประกอบด้านล่าง ของเหลวจะถูกกรองด้วยตะแกรงโลหะ สามารถถอดทำความสะอาดฟิลเตอร์ได้

ตัวกรอง

3. สนิม

ต่างจากหินปูนคือจะเกิดเมื่อมีปฏิกิริยาออกซิเดชันภายในท่อ สามารถใส่สารยับยั้งการสึกกร่อนเข้าไปในของเหลวได้เพื่อป้องกันสนิม แต่ถ้าท่อที่ไม่ได้ใช้งานสัมผัสกับอากาศก็จะทำให้เกิดสนิมขึ้นได้ เมื่อน้ำไหลผ่านท่ออีกครั้ง สนิมจะลอกออกเป็นเศษเล็กๆ และทำให้เกิดการอุดตันภายในมิเตอร์วัดการไหลหรือไปติดกับส่วนหน้าต่างของมิเตอร์วัดการไหลแบบทุ่นลอย

สนิมทำให้เกิดปัญหาเดียวกันกับ "ตะกอน"

4. เมือก

เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดังเช่น สาหร่ายและจุลินทรีย์ในน้ำ มีลักษณะเหนียวหนืดเหมือนโคลน เช่นเดียวกับหินปูน การอุดตันและสิ่งกีดขวางเกิดขึ้นได้ในมิเตอร์แบบกังหัน และจะไปบังส่วนที่มองเห็นได้ของมิเตอร์แบบทุ่นลอย

ด้วยมิเตอร์วัดการไหลแบบแม่เหล็กไฟฟ้าที่ท่อการไหลมีโครงสร้างการไหลแบบฟรีโฟลว์ จะไม่ทำให้เกิดการก่อตัวและการอุดตัน อีกทั้งเมือกยังเป็นตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าจึงยังทำให้สามารถตรวจจับได้

เมือก

กลับสู่หน้าแรก

กลับไปด้านบน

การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเซนเซอร์ตรวจจับการไหล