เครื่องกลึง NC

1. ฟังก์ชันหลักและคุณสมบัติ

เครื่องมือกลที่ควบคุมด้วยตัวเลข (NC) มีความล้ำหน้าในด้านการแปรรูปโลหะขึ้นมากนับตั้งแต่มีการประดิษฐ์ขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1950 การทำงานที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้แรงงานคนก็สามารถทำได้โดยอัตโนมัติด้วยเครื่อง NC หลังจากที่ประดิษฐ์เครื่องมือชนิดนี้ขึ้นมาได้ไม่นานนัก ก็เริ่มมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์ลงในเครื่องมือกล NC ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการด้านเทคนิคที่ทำให้เกิดเครื่องมือที่ชื่อ CNC (Computer Numerical Control: การควบคุมด้วยตัวเลขจากคอมพิวเตอร์)
ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า แต่เดิมนั้น เครื่องกลึง NC ได้รับการพัฒนามาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 หลังจากนั้น เครื่องกลึงก็ได้รับการติดตั้งกลไกเซอร์โวกันเป็นมาตรฐาน และการพัฒนาทั้งสองอย่างนี้ได้แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการที่สำคัญของการกลึงมาจนถึงทุกวันนี้

เครื่องกลึงเป็นเครื่องมือกลที่จะหมุนวัสดุทรงกระบอกและกดดอกกัด (เครื่องมือตัด) ลงไปเพื่อตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก นอกเหนือจากการกลึงด้วยดอกกัดที่มีคมตัดด้านขวาแบบพื้นฐานแล้ว ก็ยังมีวิธีการกลึงแบบอื่นๆ อีก ได้แก่ การเจาะ การคว้าน การเซาะร่อง และการทำเกลียว
เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องกลึง NC สามารถเลือกใช้ดอกกัดได้หลากหลายรูปแบบในขั้นตอนตั้งค่าล่วงหน้าสำหรับการกลึงอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยตัวเลข ซึ่งนอกจากจะทำให้การควบคุมตำแหน่งของการตัดหรือการกลึงแบบอื่นๆ ด้วยระบบแบบสามแกนมีความแม่นยำแล้ว ก็ยังสามารถกลึงแบบยืดหยุ่นได้ด้วยการควบคุมความเร็วของการหมุนและความเร็วของการป้อนเครื่องมือตามวัสดุของชิ้นงานและรูปร่างที่ต้องการได้อีกด้วย

2. เครื่องกลึง NC ชนิดทั่วไป

เครื่องกลึงจะมีเครื่องมือตัดหลายชนิดเพื่อสร้างรูปร่างหลากหลายแบบ เช่น ดอกกัดคมตัดด้านขวาแบบพื้นฐาน การกลึงตัด และการคว้าน ความสามารถในการใช้ชุดเครื่องมือได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องมือจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกลึงขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการสูญเสียความแม่นยำในการกลึงที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเปลี่ยนการวางแนวชิ้นงานหรือเปลี่ยนดอกกัด

เครื่องกลึง NC ที่นิยมใช้ทั่วไปมักจะติดตั้งเทอร์เร็ตหรือยูนิตหมุนที่มีดอกกัดติดตั้งอยู่หลายชุด ซึ่งสามารถหมุึนเพื่อให้เครื่องกลึงเลือกใช้เครื่องมือตัดหลายแบบได้ คุณสมบัตินี้จะช่วยให้การเปลี่ยนจากขั้นตอนที่เสร็จแล้วไปสู่ขั้นต่อไปมีความต่อเนื่อง ในขณะที่ชิ้นงานยังอยู่ในตำแหน่งเดิม
เครื่องกลึงอัตโนมัติหลายเพลาจะมีมากกว่าหนึ่งเพลา ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานที่แตกต่างกันได้พร้อมกัน และทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ส่วนเครื่องกลึงอัตโนมัติเพลาเดี่ยวจะเหมาะกับการกลึงที่เป็นกระบวนการเดียวอย่างต่อเนื่อง เครื่องกลึงชนิดนี้มีตัวป้อนอัตโนมัติที่จะป้อนชิ้นงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างเหมือนกันในปริมาณมากได้ เครื่องมือกลแบบพิเศษอื่นๆ ได้แก่ เครื่องกลึงหน้าจานและเครื่องกลึงแนวตั้งสำหรับชิ้นงานขนาดใหญ่ และเครื่องกลึงล้อสำหรับการกลึงล้อรถไฟ

3. วิวัฒนาการของเครื่องกลึง NC

ปัจจุบันนี้เครื่องกลึง NC ได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุม เครื่องกลึง NC และเครื่องกลึง CNC จึงแทบไม่แตกต่างกันเลย ด้วยเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ทำให้เริ่มมีการใช้รุ่นที่ติดตั้งหัวเพลาและเทอร์เร็ตไว้มากกว่าหนึ่งชิ้นอย่างแพร่หลายซึ่งสามารถกลึงได้หลายทิศทางพร้อมกันโดยใช้หัวจับเดียว
ในขณะเดียวกัน ความแม่นยำในการกลึงก็ยังเพิ่มขึ้นได้ด้วยเครื่องกลึงความแม่นยำสูงที่ให้ประสิทธิภาพการขึ้นรูปในระดับเล็กกว่าไมครอน ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการกลึงที่ต้องการความแม่นยำสูงในอุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ระบบอัตโนมัติของฟังก์ชันอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น การป้อน การส่ง การล้าง และการวัดชิ้นงานก็ยังช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

โครงสร้างพื้นฐานของเครื่องกลึง NC
โครงสร้างพื้นฐานของเครื่องกลึง NC
A
การหมุนของหัวเพลา
B
หัวจับ
C
ชิ้นงาน
D
ดอกกัด
E
การกลึง
F
หัวเพลา
หัวจับจะเป็นตัวจับชิ้นงาน
G
แผงควบคุม
H
เทอร์เร็ต
จะยึดเครื่องมือไว้จำนวนหนึ่ง

ดัชนี