คุณลักษณะของหมึก

Q1. พิมพ์ลงบนวัสดุชนิดใดได้บ้าง

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทสำหรับอุตสาหกรรมสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุหลากหลายชนิด เช่น โลหะ เรซิน แก้ว ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ กระป๋อง และขวด PET

ใช้หมึกที่แห้งเร็วประมาณ 1 วินาทีในการพิมพ์ลงบนผลิตภัณฑ์ที่เคลื่อนที่บนสายการผลิต
ซึ่งจะช่วยให้พิมพ์ลงบนวัสดุอื่นๆ ได้นอกเหนือไปจากวัสดุที่ดูดซับหมึกดี เช่น กระดาษและลังกระดาษ ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการนำเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ ไปใช้งานอย่างหลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร การแพทย์ เครื่องสำอาง ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งและโลหะ

ตัวอย่างวัสดุ

วัสดุสำหรับภาชนะบรรจุและบรรจุภัณฑ์

วัสดุที่มีรูพรุน
กระดาษ ม้วนกระดาษ ลังกระดาษ กระดาษคราฟท์ ถุง สิ่งทอ ฯลฯ
วัสดุผิวเรียบ
แก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม ขวดPET ฟิล์มสำหรับ บรรจุหีบห่อ เครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ฯลฯ

วัสดุก่อสร้าง

ไม้แปรรูป แผ่นพลาสเตอร์บอร์ด ท่อ (ท่อ PVC) วงกบอะลูมิเนียม ฯลฯ

ชิ้นส่วนระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ กลไก และยานยนต์

ผลิตภัณฑ์แบบหล่อเรซิน ผลิตภัณฑ์ขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์โลหะขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์หล่อ ฯลฯ

ตัวอย่างสภาพพื้นผิว

พื้นผิวโค้ง ทรงกระบอก และขรุขระ

แบตเตอรี่ LED ขวด ล้ออะลูมิเนียม

พื้นผิวทรงกลมและวงรี

ลูกกอล์ฟ หลอดไฟ ไข่ ฯลฯ

Q2. องค์ประกอบของหมึกได้แก่อะไรบ้าง

ดูข้อมูลของหมึกและตัวทำละลายแต่ละชนิดได้ใน SDS (เอกสารข้อมูลความปลอดภัย)

SDS (เอกสารข้อมูลความปลอดภัย) คืออะไร

เอกสารนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติและการจัดการกับสาร เคมีที่อาจเป็นอันตราย ซึ่งจะแสดงการควบคุมในระหว่างการ ขนส่งให้กับผู้ใช้รายอื่นหรือผู้ใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีเหล่านี้

* ก่อนหน้านี้ข้อมูลเหล่านี้เรียกว่า MSDS (เอกสารข้อมูลความปลอดภัย ของวัสดุ) แต่ได้เรียกรวมมาเป็น SDS ซึ่งเป็น
ตัวย่อที่กำหนดโดย UN GHS (ระบบสากลการจัดกลุ่มความเป็นอันตราย และการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก) ในเดือนเมษายน 2012

SDS (ตัวอย่าง)

SDS (ตัวอย่าง)

เนื้อหาของ SDS

  • 01 ข้อมูลเกี่ยวกับสารเดี่ยวหรือสารผสมและบริษัทผู้ผลิต หรือจำหน่าย

    ตัวบ่งชี้ผลิตภัณฑ์รวมไปถึงชื่อ ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของผู้จัด จำหน่ายของ SDS

  • 02 ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย
  • 03 ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม

    ชื่อของสารเคมีที่กำหนดไว้ รวมถึงการจำแนกประเภทและปริมาณ ความจุเป็นเปอร์เซ็นต์ของสารเคมีที่กำหนด (เลขนัยสำคัญสองตัว)

  • 04 มาตรการปฐมพยาบาล
  • 05 มาตรการผจญเพลิง
  • 06 มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสาร โดยอุบัติเหตุ
  • 07 ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา
  • 08 การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันภัย ส่วนบุคคล
  • 09 คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ
  • 10 ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา
  • 11 ข้อมูลด้านพิษวิทยา
  • 12 ข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศ
  • 13 มาตรการการกำจัด
  • 14 ข้อมูลสำหรับการขนส่ง
  • 15 ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ
  • 16 ข้อมูลอื่น

Q3. หมึกที่ใช้อยู่ภายใต้กฎหมาย PRTR หรือไม่

สาเหตุที่หมึกไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมาย PRTR แม้ว่าจะประกอบ ด้วยโลหะโครเมียมไตรวาเลนและโทลูอีนซึ่งกฎหมาย PRTR กำหนดให้เป็นสารเคมีประเภท 1 นั้นเนื่องมาจากมีปริมาณ ต่ำกว่า 1% ของมวลทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ (หมึก)

กฎหมาย PRTR คืออะไร

(ทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ)
กฎหมายเหล่านี้จะเกี่ยวกับความจำเป็นในการทำความเข้าใจ การเก็บ และการจัดทำข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็น อันตราย ข้อมูลนี้รวมถึงที่มาของสารเคมี ปริมาณของสารเคมี ที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม และข้อมูลว่าใช้สารเคมีเป็นส่วน ประกอบของวัสดุเหลือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือไม่

Q4. หมึกถือเป็นสารที่เป็นพิษหรือเป็นอันตรายหรือไม่

MEK (เมทิลเอทิลคีโตน) ได้รับการระบุว่าเป็นสารที่เป็นอันตรายแต่ไม่ใช่สารออกฤทธิ์ ดังนั้นจึงไม่ถือว่าหมึกเป็นสารที่เป็นอันตรายหรือ เป็นพิษภายใต้กฎหมายเดียวกัน

* สารออกฤทธิ์จะอ้างถึงสารที่ประกอบด้วย MEK เท่านั้น ดังนั้น MEK จึงไม่จัดเป็นสารออกฤทธิ์สำหรับสารผสม เช่น หมึกและตัวทำละลาย

Q5.ในหมึกหนึ่งตลับสามารถพิมพ์อักษรได้ประมาณกี่ตัว

ในหมึกหนึ่งตลับสามารถพิมพ์อักษรได้ประมาณกี่ตัว

ตัวอย่างทั่วไป

ตัวอย่างทั่วไป

* จำนวนอักษรที่อธิบายในที่นี้อ้างถึงกรณีที่อักษรมีขนาด 7 × 5 จุด (จำนวนจุดโดยเฉลี่ยที่ใช้ต่ออักษรหนึ่งตัวคือ 15)

ตลับหมึก 800 mL

  • MK-G1000 (รุ่นมาตรฐาน): อักษรประมาณ 71 ล้านตัว
  • MK-G1100 (รุ่นอักษรขนาดเล็ก): อักษรประมาณ 200 ล้านตัว

ตลับหมึก 450 mL

  • MK-G1000 (รุ่นมาตรฐาน): อักษรประมาณ 40 ล้านตัว
  • MK-G1100 (รุ่นอักษรขนาดเล็ก): อักษรประมาณ 110 ล้านตัว

ตัวอย่างหมึก

รุ่นหมึก ชนิด ปริมาณ (cc) รุ่น ผลิตภัณฑ์ (ชุด) จำนวนตลับ
MK-10
(หมึกสีดำ)
มาตรฐาน 800 MK-K01 1
800 MK-K02 2
450 MK-K02H 2
รุ่นหมึก
MK-10 (หมึกสีดำ)
ชนิด
มาตรฐาน
ปริมาณ (cc) รุ่นผลิตภัณฑ์ (ชุด) จำนวนตลับ
800 MK-K01 1
800 MK-K02 2
450 MK-K02H 2

Q6. หมึกมีวันหมดอายุหรือไม่

อายุการใช้งาน

วันที่หมดอายุของหมึกและตัวทำละลายคือ 12 เดือนหลังจากใส่ตลับเข้าไปในเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท
หากคุณใช้หมึกเก่าที่เลยวันหมดอายุแล้ว คุณภาพการพิมพ์อาจแย่ลงและจำเป็นจะต้องทำการบำรุงรักษาเพิ่มเติมจากปกติ

ติดตั้งชิป IC

แต่ละตลับจะติดตั้งชิป IC ไว้ ชิปจะตรวจจับได้หากเลย วันหมดอายุของหมึกหรือตัวทำละลาย (มีระบุไว้บนฉลาก) และ แจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าจะต้องเปลี่ยนตลับใหม่

ติดตั้งชิป IC

Q7. ควรจัดเก็บหมึกอย่างไร

กรุณาควรจัดเก็บหมึกโดยวิธีดังนี้ในสภาวะดังต่อไปนี้

จัดเก็บในสภาวะการจัดเก็บที่แนะนำ

  • จัดเก็บไว้ในที่เย็นและระบายอากาศได้ดี ห่างจากแสงแดดและฝน
  • ห้ามเก็บไว้ใกล้ไฟหรือแหล่งความร้อนอื่นๆ
  • ปิดบรรจุภัณฑ์ที่จัดเก็บหมึกให้สนิทหลังจากเปิดใช้
  • ห้ามเก็บไว้ใกล้สารที่ทำลายและสร้างออกซิเจน
  • จัดเก็บในสภาวะตามที่กฎหมายและข้อบังคับกำหนด
  • เก็บในสถานที่ที่ปิดล็อคอย่างมิดชิดเพื่อป้องกันการโจรกรรม
  • ใช้ขวดของ KEYENCE เพื่อเก็บหมึก

* สำหรับหมึกและสารทำละลายสามารถระเหยและติดไฟได้ ให้ปฏิบัติตามกฎการจัดเก็บและใช้งานในท้องถิ่น

ไม่ละลายในน้ำ (หมึก MEK) ละลายในน้ำ (หมึกปลอด MEK)
ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบ
น้อยกว่า 40 ลิตร
น้อยกว่า 80 ลิตร
ต้องแจ้งให้สารวัตรงานดับเพลิงหรือสารวัตรประจำสถานีดับเพลิงทราบ
40 ลิตรขึ้นไป
80 ลิตรขึ้นไป
จัดเก็บและใช้งานตามพระราชบัญญัติจัดการอัคคีภัย
200 ลิตรขึ้นไป
400 ลิตรขึ้นไป

* ตรวจสอบดูคำตัดสินชี้ขาดกับตัวแทนสำนักงานตรวจสอบมาตรฐานแรงงานในท้องถิ่น

ปริมาณที่จัดเก็บและการแจ้งให้ทราบ

กรุณาจัดเก็บหมึกในสภาวะดังต่อไปนี้

  • ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบหากมีปริมาณจัดเก็บน้อยกว่า 1/5 ของปริมาณที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้ผลิตยังคงมีหน้าที่จัดเก็บหมึกตามที่พระราชบัญญัติจัดการอัคคีภัยกำหนด
  • จำเป็นต้องแจ้งให้สารวัตรงานดับเพลิงหรือสารวัตรประจำสถานีดับเพลิงทราบเมื่อจัดเก็บหมึกในปริมาณที่เท่ากับหรือมากกว่า 1/5 แต่ไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด
  • การจัดเก็บและใช้งานที่มากกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนดจะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติจัดการอัคคีภัยและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ห้ามเก็บหรือใช้งานหมึกและสารละลายในสถานที่อื่นนอกจากสถานที่จัดเก็บ / ใช้งานที่กำหนดไว้เท่านั้น

ปริมาณที่กฎหมายกำหนด

การจัดเก็บหรือใช้งานวัตถุอันตรายเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติจัดการอัคคีภัยและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ห้ามเก็บหรือใช้งานวัสดุดังกล่าวในสถานที่อื่นนอกจากสถานที่ผลิต / จัดเก็บ / ใช้งานที่กำหนดไว้เท่านั้น

Q8. หากหมึกเข้าตาควรทำอย่างไร

ล้างตาทันทีด้วยน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น แล้วรีบไปพบแพทย์

คำเตือน
  • ห้ามมองตรงไปที่หัวฉีดหมึกขณะที่อุปกรณ์กำลังทำงาน
    เนื่องจากหมึกและสารทำละลายอาจเข้าตาหรือปากได้
  • ให้ปิดเครื่องก่อนที่จะเปลี่ยนวัสดุสิ้นเปลืองหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์
    เนื่องจากหมึกและสารทำละลายอาจเข้าตาหรือปากได้
  • เมื่อทำการบำรุงรักษา เช่น ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนหัวฉีดหรือไส้กรอง จะต้องสวมแว่นป้องกันทุกครั้งเพื่อไม่ให้หมึกหรือสารทำละลายเข้าตา
ข้อควรระวัง
  • ควรใส่ถุงมือป้องกันที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสัมผัสหมึกหรือสารทำละลายโดยตรง
    ใช้สบู่และน้ำล้างหมึกหรือสารทำละลายที่ติดกับผิวออกโดยเร็วที่สุด

Q9. ควรกำจัดหมึกที่ใช้แล้วอย่างไร

หมึกที่ใช้แล้วถือเป็นของเสียทางอุตสาหกรรมภายใต้การควบคุมพิเศษ

พระราชบัญญัติโรงงาน (พระราชบัญญัติกำจัดของเสีย)

หมึก สารทำละลาย และหมึกที่ใช้แล้วถือเป็นเป็นของเสียทางอุตสาหกรรมภายใต้การควบคุมพิเศษ (ของเสียในรูปของเหลว) ควรใช้บริการผู้รับกำจัดของเสียทางอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองจากผู้ว่าราชการในท้องที่

ดาวน์โหลด PDF

กลับไปยังหน้าหลักของ CIJ Central